วันพฤหัสบดี, 5 ธันวาคม 2567

กิจกรรม DE ต้นน้ำ ด้วยกระบวนการ Learning Lab (ห้องปฏิบัติการเรียนรู้ทางสังคม) เพื่อขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดปัตตานี

09 ธ.ค. 2565
362

วันที่ 8 ธันวาคม 2565 เวลา 09.00 นางอภิญญา แพทย์ศรี รองศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี ได้รับมอบหมายจากศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี เป็นผู้กล่าวรายงานในพิธีเปิดโครงการจกรรม DE ต้นน้ำ ด้วยกระบวนการ Learning Lab (ห้องปฏิบัติการเรียนรู้ทางสังคม) เพื่อขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดปัตตานี ณ โรงแรม ซี.เอส.ปัตตานี โดยมี ว่าที่ร้อยตรีตระกูล โทธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานในพิธีเปิด

Google Drive Image
Google Drive Image
Google Drive Image
Google Drive Image
Google Drive Image

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานีร่วมกับสถาบันอาศรมศิลป์ กำหนดจัด DE ต้นน้ำ ด้วยกระบวนการ Learning Lab (ห้องปฏิบัติการเรียนรู้ทางสังคม) เพื่อขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาและศึกษาข้อมูล ทุน และความต้องการของสังคมที่มีต่อการพัฒนา คุณภาพการศึกษาของจังหวัดปัตตานี นำมากำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมายของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดปัตตานี โดยดำเนินการสัมภาษณ์บุคคลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจัดการศึกษา ประกอบด้วย ผู้บริหารหน่วยงานการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน หัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ แหล่งเรียนรู้ต่างๆ และภูมิปัญญาในจังหวัดปัตตานี ผู้นำศาสนา และภาคประชาสังคม

Google Drive Image
Google Drive Image
Google Drive Image
Google Drive Image
Google Drive Image

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา มูลนิธิสยามกัมมาจล และสถาบันอาศรมศิลป์ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ภายใต้สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ดำเนินการโครงการศึกษาและพัฒนาระบบกลไกหนุนเสริมการพัฒนากรอบหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะเพื่อการจัดการเรียนรู้สู่สมรรถนะเชิงรุกของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 8 จังหวัด โดยเป็นการวิจัยร่วมกันกับศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทั้ง 8 จังหวัด (ระยอง ศรีสะเกษ สตูล เชียงใหม่ กาญจนบุรี ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) โค้ชแกนนำจากสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารและครูแกนนำ

Google Drive Image
Google Drive Image
Google Drive Image
Google Drive Image
Google Drive Image
Google Drive Image

กิจกรรมดังกล่าว เป็นการดำเนินงานตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 มุ่งเน้นการใช้พื้นที่ระดับจังหวัด เป็นพื้นที่นําร่องในการสร้างนวัตกรรม จัดการศึกษาแบบใหม่ เพื่อการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย การดำเนินการ ตามโครงการนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางคุณภาพด้านวิชาการในพื้นที่  การรับรู้และร่วมสร้างภาพเป้าหมายร่วม (Shared Vision) ของการจัดการศึกษาที่ทุกคน มีความเป็นเจ้าของ (Ownership) เป็นการต่อยอดกลไกเดิมที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ ให้ทำงานหน้าที่ได้อย่างเต็มกำลังสมบูรณ์แบบมากขึ้น และได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย เป็นกลไกหนุนเสริมซึ่งกันและกัน ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมพลัง (Empower) การพัฒนาของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมกำหนดแนวทาง วิธีการ กระบวนการส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการ พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะและการจัดการเรียนรู้สู่สมรรถะเชิงรุกในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำสู่การปฏิบัติต่อไป

Developmental Evaluation (DE) หรือ การประเมินผลเชิงพัฒนา คือ การประยุกต์แนวคิดความซับซ้อนมาสู่การพัฒนานวัตกรรมและใช้ประโยชน์จากการประเมิน โดยมีการนำผลลัพธ์ไปใช้ประโยชน์ในทันที หรือกลุ่มเป้าหมายจะต้องได้ใช้ประโยชน์ในทันที

Google Drive Image Google Drive Image
Google Drive Image
Google Drive Image
Google Drive Image
Google Drive Image
Google Drive Image
Google Drive Image
Google Drive Image
Google Drive Image
Google Drive Image
Google Drive Image
Google Drive Image
Google Drive Image